Archive For The “กฏหมาย” Category

วิธีการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

By |

วิธีการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1522 วรรคสอง ซึ่งได้บัญญัติว่า ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล หรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ให้ศาลเป็นผู้กำหนด ดังนั้นถึงจะไม่ได้ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ในขณะหย่า แต่มารดาหรือบิดาที่เลี้ยงดูบุตร ยังมีสิทธิเรียกร้องจากบิดาหรือมารดาอีกฝ่ายหนึ่งในภายหลัง ตัวอย่างคดีฟ้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในภายหลัง เช่น คดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544 ซึ่งศาลได้วินิจฉัยไว้ว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงทะเบียนหย่ามีว่า “คู่หย่าทั้งสองฝ่ายสาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือเด็กชาย ท. อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา” ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1522 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง  นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์  การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา  จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดกับพยานเอกสาร เมื่อโจทย์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยก็ยอมรับว่า หลังการจดทะเบียนหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้ อย่างไรก็ตาม สามารถจะฟ้องเรียกร้องได้ในจำนวนเงินที่มารดาได้ทดรองจ่ายไปแล้วได้ด้วย  เพียงแต่ฟ้องเรียกร้องย้อนหลังได้เฉพาะจำนวนเงินที่ได้ชำระไปภายในระยะเวลา 5 ปี ตัวอย่างคดี ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2697/2548  ซึ่งวินิจฉัยไว้ว่า  หากไม่ได้ตกลงกันให้ฝ่ายใดออกค่าอุปการะเลี้ยงดู แต่บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1565 วรรคหนึ่ง  อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกันและต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ…

Read more »

วิธีการแบ่งสินสมรส

By |

วิธีการแบ่งสินสมรส

ถ้าพูดหลักกฎหมายจะค่อนข้างใช้ กฎหมายหลายบทหลายมาตรา ดังนั้นจะขอ สรุปกว้าง ๆ เพื่อให้มองเห็นภาพ ส่วนรายละเอียดลึกซึ้งกว่านั้นต้องศึกษาจากตัวบทกฎหมายต่อไป กรณีการสมรสได้สิ้นสุดลงด้วยวิธี การหย่า ซึ่งจะต้องมีการตกลงแบ่งทรัพย์สินกันกับคู่สมรสของตนนั้น ถ้าตกลงกันเองได้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละฝ่ายที่จะตกลงยอมกัน แต่ถ้าอยากจะตกลงแบ่งกันอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายแล้ว สินสมรสที่จะแบ่งกันเมื่อมีการหย่าจะต้องแบ่งกันคนล ครึ่งกับคู่สมรสของตน ในเบื้องต้นจึงต้องแยกกันก่อนระหว่างสินส่วนตัวกับสินสมรส หลักกว้าง ๆ ของสินส่วนตัวคือ ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนจดทะเบียนสมรสเป็น ของใครกีจะเป็นทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของนั้น ๆ คู่สมรส อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีสิทธิจะขอแบ่ง เช่น ก่อนจดทะเบียนสมรสหากสามีมีทรัพย์สิน เป็นที่ดิน บ้าน รถ หรือมีเงินสดฝากธนาคารสมมุติว่า มิได้มีการนำมาเบิกใช้จ่ายจำนวนหนึ่ง ฯลฯ ทรัพย์สินเหล่านี้คู่สมรสอีกฝ่ายจะไม่มีสิทธิ ขอแบ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าทรัพย์สินชิ้นใดที่สามารถงอกหรือออกดอกออกผลเกิดขึ้นหลัง จากจดทะเบียนสมรส ดอกผลที่เกิดขึ้นภายหลัง จะเป็นสินสมรสได้ เช่น ภริยาเป็นเจ้าของบ้าน เช่ามาก่อนจดทะเบียนสมรส แม้ว่าบ้านเป็นทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัว แต่จำนวนเงินรายไดัจากค่าเช่าบ้านที่เกิดขึ้นหลังจากจดทะเบียนสมรสถือว่าเป็นดอกผลที่ได้มาระหว่างสมรส ค่าเช่าบ้านที่เกิดขึ้นภายหลังที่หักค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาแล้วสามารถคำนวณออกมาเป็นสินสมรสได้ หรือก่อนสมรสฝ่ายหนึ่งได้ประกอบอาชีพเลี้ยงม้าหรือสุกร พ่อพันธุ์แม่พันธุ์จะเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น แต่ถ้าหลังจากแต่งงานแล้วเกิดลูกม้าหรือลูกสุกร ถือว่าลูกม้าลูกสุกรสามารถนำมาคำนวณเป็นตัวเงินเป็นรายได้หรือทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายจะ ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง เป็นต้น นอกจากนั้นแม้จะจดทะเบียนสมรสแล้ว แต่ถ้าฝ่ายใดได้รับทรัพย์มรดกใดมา หรือมีใครยกทรัพย์สินให้ฝ่ายใด ทรัพย์สินที่ได้รับมรดกหรือการยกให้นั้น จะเป็นของฝ่ายนั้น…

Read more »

วิธีเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยรถ

By |

วิธีเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยรถ

ขั้นที่ 1  การเรียกค่าสินไหม จาก พ.ร.บ.รถ(พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535) คุ้มครองเฉพาะการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตเท่านั้น 1.  ค่ารักษาพยาบาล  จ่ายตามจริง ให้โรงพยาบาลไม่เกิน 5 หมื่นบาท 2.  ค่าชดเชยรายวัน จ่ายให้ผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน 3.  ค่าปลงศพ  จ่ายให้ทายาท 2 แสนบาท(รวมค่ารักษาพยาบาล) ข้อควรจำ ต้องยื่นเอกสารเรียกค่าสินไหมภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดเหตุ ให้ยื่นเอกสารกับบริษัทประกันภัยที่รับทำ พ.ร.บ. รถ คันที่ผู้ประสบภัยโดยสารมา หากบริษัทประกันภัยไม่ยอมจ่ายให้ยื่นเรียกร้องที่ คปภ.ส่วนกลาง หรือ คปภ.จังหวัด ทันที ขั้นที่ 2 การเรียกค่าเสียหายกับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ(ประกันภัยชั้น 1,2,3) ค่าเสียหายที่เรียกได้คือ 1.  ค่ารักษาพยาบาล ส่วนที่เกินวงเงินของ พ.ร.บ. รถ 2.  ค่าทนทุกข์ทรมาน…

Read more »