Posts Tagged “เรียกค่าเลี้ยงดูบุตร”

วิธีการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

By |

วิธีการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1522 วรรคสอง ซึ่งได้บัญญัติว่า ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล หรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ให้ศาลเป็นผู้กำหนด ดังนั้นถึงจะไม่ได้ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ในขณะหย่า แต่มารดาหรือบิดาที่เลี้ยงดูบุตร ยังมีสิทธิเรียกร้องจากบิดาหรือมารดาอีกฝ่ายหนึ่งในภายหลัง ตัวอย่างคดีฟ้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในภายหลัง เช่น คดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544 ซึ่งศาลได้วินิจฉัยไว้ว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงทะเบียนหย่ามีว่า “คู่หย่าทั้งสองฝ่ายสาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือเด็กชาย ท. อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา” ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1522 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง  นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์  การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา  จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดกับพยานเอกสาร เมื่อโจทย์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยก็ยอมรับว่า หลังการจดทะเบียนหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้ อย่างไรก็ตาม สามารถจะฟ้องเรียกร้องได้ในจำนวนเงินที่มารดาได้ทดรองจ่ายไปแล้วได้ด้วย  เพียงแต่ฟ้องเรียกร้องย้อนหลังได้เฉพาะจำนวนเงินที่ได้ชำระไปภายในระยะเวลา 5 ปี ตัวอย่างคดี ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2697/2548  ซึ่งวินิจฉัยไว้ว่า  หากไม่ได้ตกลงกันให้ฝ่ายใดออกค่าอุปการะเลี้ยงดู แต่บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1565 วรรคหนึ่ง  อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกันและต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ…

Read more »