วิธีการแบ่งสินสมรส

ถ้าพูดหลักกฎหมายจะค่อนข้างใช้ กฎหมายหลายบทหลายมาตรา ดังนั้นจะขอ สรุปกว้าง ๆ เพื่อให้มองเห็นภาพ ส่วนรายละเอียดลึกซึ้งกว่านั้นต้องศึกษาจากตัวบทกฎหมายต่อไป

กรณีการสมรสได้สิ้นสุดลงด้วยวิธี การหย่า ซึ่งจะต้องมีการตกลงแบ่งทรัพย์สินกันกับคู่สมรสของตนนั้น ถ้าตกลงกันเองได้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละฝ่ายที่จะตกลงยอมกัน แต่ถ้าอยากจะตกลงแบ่งกันอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายแล้ว สินสมรสที่จะแบ่งกันเมื่อมีการหย่าจะต้องแบ่งกันคนล ครึ่งกับคู่สมรสของตน ในเบื้องต้นจึงต้องแยกกันก่อนระหว่างสินส่วนตัวกับสินสมรส

หลักกว้าง ๆ ของสินส่วนตัวคือ ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนจดทะเบียนสมรสเป็น ของใครกีจะเป็นทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของนั้น ๆ คู่สมรส อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีสิทธิจะขอแบ่ง เช่น ก่อนจดทะเบียนสมรสหากสามีมีทรัพย์สิน เป็นที่ดิน บ้าน รถ หรือมีเงินสดฝากธนาคารสมมุติว่า มิได้มีการนำมาเบิกใช้จ่ายจำนวนหนึ่ง ฯลฯ ทรัพย์สินเหล่านี้คู่สมรสอีกฝ่ายจะไม่มีสิทธิ ขอแบ่ง

อย่างไรก็ตาม ถ้าทรัพย์สินชิ้นใดที่สามารถงอกหรือออกดอกออกผลเกิดขึ้นหลัง จากจดทะเบียนสมรส ดอกผลที่เกิดขึ้นภายหลัง จะเป็นสินสมรสได้ เช่น ภริยาเป็นเจ้าของบ้าน เช่ามาก่อนจดทะเบียนสมรส แม้ว่าบ้านเป็นทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัว แต่จำนวนเงินรายไดัจากค่าเช่าบ้านที่เกิดขึ้นหลังจากจดทะเบียนสมรสถือว่าเป็นดอกผลที่ได้มาระหว่างสมรส ค่าเช่าบ้านที่เกิดขึ้นภายหลังที่หักค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาแล้วสามารถคำนวณออกมาเป็นสินสมรสได้

หรือก่อนสมรสฝ่ายหนึ่งได้ประกอบอาชีพเลี้ยงม้าหรือสุกร พ่อพันธุ์แม่พันธุ์จะเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น แต่ถ้าหลังจากแต่งงานแล้วเกิดลูกม้าหรือลูกสุกร ถือว่าลูกม้าลูกสุกรสามารถนำมาคำนวณเป็นตัวเงินเป็นรายได้หรือทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายจะ ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง เป็นต้น

นอกจากนั้นแม้จะจดทะเบียนสมรสแล้ว แต่ถ้าฝ่ายใดได้รับทรัพย์มรดกใดมา หรือมีใครยกทรัพย์สินให้ฝ่ายใด ทรัพย์สินที่ได้รับมรดกหรือการยกให้นั้น จะเป็นของฝ่ายนั้น คู่สมรสอีกฝ่ายจะไม่มีสิทธิ ยกเว้นแต่เจ้ามรดกหรือผู้ยกให้ระบุไว้ชัดเจนว่ายกให้คู่สมรสทั้งสองฝ่าย

ส่วนใหญ่ที่โต้แย้งสงสัยกันมักจะเป็นเรื่องของการทำสัญญาชื้อขายทรัพย์สิน โดยวิธีการผ่อนชำระ แล้วมาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว ปัญหาว่าทรัพย์สินนี้จะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว เรื่องนี้คงต้องดูสิทธิในการรับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มีอยู่ก่อนจดทะเบียนสมรสหรือหลังจดทะเบียนสมรส ตัวอย่าง เช่น คดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา 2353/2536 คือแม้ฝ่ายหนึ่งจะได้ทำสัญญาจะชื้อจะขาย ที่ดินและบ้านก่อนจดทะเบียนสมรส แต่การผ่อนชำระราคาส่วนใหญ่จ่ายหลังจากจดทะเบียนสมรส ต่อมาเมื่อได้จดทะเบียนรับโอนทรัพย์สินภายหลังจากจดทะเบียนสมรส บ้านและที่ดินนี้จะเป็นสินสมรสของทั้งสองฝ่ายที่ต้องแบ่งกันคนละครึ่งเมื่อหย่ากัน คือ เรื่องนี้นักกฎหมายคงจะเห็นว่าการทำสัญญา ซื้อขายอาจจะเกิดขึ้นก่อนสมรส แต่การชำระราคาส่วนใหญ่หรือครบถ้วนจะเกิดขึ้นภายหลังสมรส สิทธิเรียกร้องให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มิได้เกิดขึ้นก่อนสมรส บ้าน และที่ดินนี้จึงเป็นสินสมรส จึงต้องดูข้อเท็จจริง  ซึ่งมีที่มาที่ไปของการจดทะเบียนรับโอน กรรมสิทธิเป็นเรื่อง ๆ ไปว่ามีอยู่ก่อนสมรส หรือไม่ คือถ้าเป็นกรณีที่อีกฝ่ายใดทำสัญญา ซื้อขายและได้ผ่อนชำระค่าบ้านกันจนหมด แล้วแต่ยังไม’ได้ไปจดทะเบียนรับโอน ต่อมาสมรสแล้วจึงได้ไปจดทะเบียนรับโอนบ้าน เช่นนี้บ้านจะเป็นสินส่วนตัวของผู้ซื้อ  คู่สมรสอีกฝ่ายจึงไม่มีสิทธิจะขอแบ่งกันคนละครึ่งได้ เป็นต้น.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

3 × three =