Posts Tagged “เคล็ดลับเกี่ยวกับการถนอมอาหาร”

เคล็ดลับเกี่ยวกับการถนอมอาหาร

By |

เคล็ดลับเกี่ยวกับการถนอมอาหาร

การเก็บอาหารสดในตู้เย็นถ้าเราเก็บได้ถูกวิธีแล้วอาหารสดนั้นจะคงรสชาติและความสดได้นาน ซึ่งการเก็บเนื้อสัตว์และผักสดย่อมไม่เหมือนกัน ถ้าสังเกตจะเห็นว่าในตู้เย็นนั้นเราจะแบ่งเป็นช่องแช่เย็นแยกประเภทเนื้อสัตว์และผักไปเลย แต่ก็ใช่จะจัด ๆ เก็บ ๆ ใส่ในของที่จัดไว้นั้นได้เลย ของอย่างนี้ต้องมีเทคนิค อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ที่ซื้อมาจากตลาดไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ไก่ ปลา เมื่อมาถึงครัวแล้วยังไม่ประกอบอาหารทันทีให้ใช้แผ่นพลาสติกใสบาง ๆ ห่อเนื้อสัตว์เหล่านี้แล้วเก็บในช่องแช่เย็นทันทีโดยไม่ต้องล้าง ซึ่งตู้เย็นในสมัยนี้ได้แบ่งช่องแช่เนื้อสัตว์ออกเป็นช่องซิลเลอร์และช่องฟรีซเซอร์ ถ้าเนื้อสัตว์ที่ซื้อมาคาดว่าจะใช้หมดภายในสองถึงสามวันเราก็นำเข้าแช่ในช่องซิลเลอร์ ซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ 0°- -3°C แต่ถ้าต้องการเก็บเป็นอาทิตย์ขึ้นไปก็ให้เก็บในช่องฟรีซเซอร์ ซึ่งจะมีอุณหภูมิประมาณ -18° แต่สำหรับตู้เย็นพิเศษบางรุ่นจะทำอุณหภูมิช่องฟรีซเซอร์ได้ถึง -43° ถึง 55°C ซึ่งเนื้อสัตว์ที่เก็บในช่องนี้น้ำภายในเนื้อสัตว์จะอยู่ในสภาพผลึกน้ำแข็งเล็ก ๆ เมื่อเรานำเนื้อเข้าแช่ให้รีบปรับอุณหภูมิให้ลดลงต่ำโดยเร็ว วิธีนี้จะทำให้น้ำในเนื้อสัตว์ไม่ไหลซึมออกมาทำให้เสียรส ดังนั้นตู้เย็นที่สามารถปรับอุณหภูมิของฟรีซเซอร์ ให้ลดต่ำได้อย่างรวดเร็ว จึงมีประโยชน์ตรงจุดนี้ แต่เมื่อเรานำเนื้อสัตว์ออกมาใช้จากช่องแช่แข็งให้รีบแบ่งส่วนที่ต้องการใช้ออกมาโดยเร็ว ส่วนที่เหลือก็เข้าช่องแช่ แต่เนื้อที่เคยแช่แข็งแล้วนำมาวางไว้จนเท่ากับอุณหภูมิห้อง ไม่ควรนำไปแช่แข็งอีกเพราะจะเก็บไว้ไม่ได้นาน ส่วนการทำความสะอาดเนื้อสัตว์ที่นำออกมาจากซองแช่ก็ปล่อยให้เนื้อมีอุณหภูมิเท่ากับห้องแล้วใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ด ไม่ควรใช้น้ำล้างเพราะคุณค่าอาหารที่ผิวเนื้อสัตว์จะเสียไปกับน้ำ แต่ถ้าบางคนไม่มั่นใจก็ใช้น้ำล้างแล้วใช้ผ้าสะอาดซับน้ำให้แห้งโดยเร็ว แต่บางท่านใจร้อนเนื้อที่แช่แข็งต้องการจะให้ผลึกน้ำแข็งละลายเร็ว ๆ จึงใช้น้ำร้อนราดบนก้อนเนื้อวิธีนี้ไม่ควรใช้ ให้เปิดก๊อกน้ำเย็นผ่านเนื้อสัตว์แต่แน่นอนว่าคุณค่าอาหารย่อมเสียไปบ้าง ส่วนอาหารทะเลที่มีขนาดเล็ก ๆ เช่น กุ้ง ปลาหมึก หอย ให้ใส่กล่องพลาสติกแช่ในช่องแข็ง ส่วนการเก็บผักสดนั้นภายในตู้เย็นจะมีช่องสำหรับแช่ผักโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีอุณหภูมิประมาณ…

Read more »