Posts Tagged “อำนาจปกครองบุตร”

วิธีใช้อำนาจปกครองบุตร

By |

วิธีใช้อำนาจปกครองบุตร

แม้ว่าการหย่าจะตกลงกันให้สามีเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ถ้าบิดาซึ่งมีอำนาจปกครองบุตรเสียชีวิต มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองคนต่อไปแทนเพราะยังมิได้มีการถอนอำนาจปกครอง ตัวอย่างคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2531 การที่ผู้ตายหย่ากับผู้คัดค้านโดยได้ตกลงกันให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของผู้ตายตามบันทึกหลังทะเบียนการหย่านั้น ข้อตกลงนี้เป็นเพียงการกำหนดภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1522 เท่านั้น หาใช่ข้อตกลงในเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1520 ไม่  อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ภายหลังการหย่าจึงยังอยู่กับผู้ตายและผู้คัดค้านซึ่งเป็นบิดามารดา เมื่อบิดาตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ย่อมตกอยู่แก่มารดาตามมาตรา 1566 ผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์และมีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านการขอตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแทนผู้เยาว์ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2548 ผู้เยาว์เป็นบุตรของ ว.กับผู้คัดค้าน ต่อมา ว.หย่ากับผู้คัดค้านโดยมีข้อตกลงเรื่องการใช้อำนาจปกครองว่าให้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของ ว.บิดา  ว.จึงเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวตามข้อสัญญาดังกล่าว  ซึ่งสามารถบังคับได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1566 วรรคสอง(6) และมิใช่เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านถูกถอนอำนาจปกครองเพราะการถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาลและจะต้องมีเหตุตามมาตรา 1582 ดังนั้น เมื่อ ว.ถึงแต่ความตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จึงกลับมาเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียวตามมาตรา 1566 วรรคสอง(1) กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง  อันจะทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นป้ามีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามมาตรา 1585 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1586 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2544  ซึ่งวินิจฉัยในทำนองเดียวกันว่า มาตรา 1585 วรรคหนึ่ง …

Read more »