เคล็ดลับในการดื่มน้ำเต้าหู้

น้ำเต้าหู้ หาดื่มง่าย แถมราคาถูก เดี๋ยวนี้มีขายทั้งเช้าและเย็น แต่รู้หรือไม่ว่าน้ำเต้าหู้ที่มีสีเหมือนน้ำนมนั้นให้คุณค่าต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

นพ.กฤษดา  ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า สิ่งที่อยู่ในน้ำเต้าหู้ล้วนแต่มีคุณอนันต์ ดังนี้

1.  โปรตีนถั่วเหลือง มีฤทธิ์ช่วยลดไขมันโคเลสเตอรรอลกับลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้

2.  พฤกษฮอร์โมน  หรือฮอร์ดมนจากพืช มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อาทิ เด้ดซีน เจนิสทีน ช่วยคุมอาการร้อนวูบวาบของวัยทองได้บ้าง และยังช่วยป้องกันกระดูกพรุนด้วย

3.  แคลเซียม ซึ่งช่วยให้กล้ามเนื้อแขนขาทำงานได้ดี ช่วยไม่ให้เป็นตะคริว

4.  วิตามิน ทั้งบี1,2,3 และ 6 เป็นอาหารบำรุงสมองเหมาะสำหรับวัยเรียนและผู้บริหารที่ต้องทานวิตามินบำรุงความคิดเป็นประจำ

5.  น้ำ  ช่วยให้เราไม่ขาดน้ำแล้วยังสดชื่นขึ้น

น้ำเต้าหู้เหมาะสำหรับ

1.  เด็กวัยเรียน  โปรตีนในน้ำเต้าหู้ช่วยเสริมร่างกาย สร้างสารสื่อประสาทกลุ่ม “เพ็ปไทด์” ได้

2.  ผู้ใหญ่และผู้อาวุโส  ควรดื่มเพราะเป็น “กรดอะมิโน” ที่ย่อยง่ายช่วยให้ไม่ขาดโปรตีนและกล้ามเนื้อฝ่อตามวัย

3.  คุณแม่ตั้งครรภ์  ในน้ำเต้าหู้และเต้าหู้อุดมไปด้วย “แคลเซียม” เติมกระดูกให้คุณแม่และลูกน้อยในท้อง ถ้าให้ดีต้องมี “งาดำ” เติมลงไปด้วย

4.  ผู้ฟื้นไข้  หายป่วยใหม่ๆ ดื่มน้ำเต้าหู้ดีนักและย่อยง่ายดี แต่ถ้าเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ท้องอืดง่ายให้เลี่ยงไว้ก่อน

5.  นักเพาะกาย  น้ำเต้าหู้มีโปรตีนชั้นดีที่ช่วยเติมพลังงานแบบง่ายๆ ไร้ไขมันมากเกิน เหมาะกับท่านที่กำลังเพาะก้ามปูให้ดูใหญ่

คนที่ไม่ควรดื่มน้ำเต้าหู้ คือ

1.  ท่านที่ท้องอืดและท้องผูกง่าย  เพราะแคลเซียมในถั่วเหลืองที่สูงไปยิ่งทำให้ลำไส้หกเกร็งเก็บกากอาหาร

2.  แพ้โปรตีนถั่วเหลือง  จะมีอาการแพ้ได้เหมือนกับอาหารอื่น

3.  มีปัญหาเรื่องฮอร์โมนหรือเนื้องอกที่ไวต่อฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม เพราะมีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ในก้อนเนื้องอก ทั้งนี้ไม่ต้องกลัวอันตรายจาก “ฮอร์โมนพืช” ในน้ำเต้าหู้หรือถั่วเหลืองมาก ถ้าเราไม่ได้ดื่มมากสามมื้อต่อวัน หรือเจ็ดวันต่อสัปดาห์ก็ไม่ส่งผลเสียเลย เพราะฮอร์โมนพืชเหล่านี้มีอยู่จริงแต่เจือจางมาก ในทางตรงข้ามนมถั่วเหลืองกลับมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งได้ด้วย

เคล็ดลับในการดื่มน้ำเต้าหู้

–         อย่าดื่มมากไป เช่น ดื่ม 3 มื้อ 7 วันต่อสัปดาก์ สิ่งใดที่เยอะไปซ้ำซากไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพ

–         เติมหวานให้น้อย ขอให้เติมน้ำตาลแต่น้อย ไม่มากไปจนกลายเป็นขมข้นหวานแทนน้ำเต้าหู้ แต่ถ้าไม่อยากให้น้ำเต้าหู้ถุงนั้นกลายเป็นน้ำข้าวรสจืดกร่อยให้เติมน้ำตาลได้บ้างพอปะแล่มแล้วใสเครื่องให้มาก อาทิ ลูกเดือย เม็ดแมงลัก ถั่วแดง จะช่วยไปดักน้ำตาลไว้ชะลอให้ถูกซึมเข้าไส้เราช้าลง

–         โรคเกาต์ระวัง น้ำเต้าหู้เป็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเมื่อรวมกับเครื่องที่เป็นถั่วๆ งาๆ อีกก็มี “ธาตุเกาต์” อยู่สูงใช้ได้ สำหรับผู้ปวดข้อเกาต์อยู่บ่อยๆ ถ้าดื่มเข้าก็อาจปวดได้ ให้เลี่ยงการใส่เครื่องและไม่ดื่มบ่อยเกินไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

20 − two =