วิธีกินอาหารตามอาการของโรคจากตำราแพทย์แผนจีน

โรคที่มีลักษณะร้อน(หยาง) อาหารที่มีลักษณะเย็น(หยิน)
มีอาการหน้าแดง ตาแดง เสียงดังใหญ่ หายใจแรง ตัวร้อน หงุดหงิด กระวนกระวาย เจ็บคอ คอแห้ง กระหายน้ำ ชอบน้ำเย็น ท้องผูก ปัสสาวะเหลืองเข้ม ลิ้นแห้ง ลิ้นสีแดงเข้ม ลิ้นฝ้าเหลือง ชีพจรเต้นเร็วแรง ปู เป็ด ห่าน กล้วย ส้ม สาลี่ อ้อย แตงโม สับปะรด น้ำมะพร้าว มะละกอ ส้มโอ มังคุด แห้ว ข้าวโพด ถั่วฝักยาว ถั่วเหลือง เต้าหู้ แตงกวา มะเขือเทศ ฟัก สาหร่ายทะเล มะระ ผักกาดขาว ดอกไม้จีน ผักบุ้ง หัวไชเท้า หน่อไม้ เห็ดหูหนู บัวบก ใบตำลึง ผักกระเฉด
โรคที่มีลักษณะเย็น (หยิน) อาหารที่มีลักษณะร้อน (หยาง)
มีอาการซีด สีเลือดบนใบหน้าไม่สดใส เสียงพูดเบา หายใจเบา แขนขาเย็น ไม่มีไข้ กลัวหนาว ไม่กระหายน้ำ อ่อนเพลีย อุจจาระน้อยหยาบค่อนข้างเหลว ปัสสาวะใสปริมาณมาก ท้องอืดง่าย ลิ้นบวมโตสีซีด ลิ้นฝ้าขาวและลื่น ชีพจรเต้นช้า เนื้อวัว เนื้อไก่ แพะ สุนัข งู(ส่วนใหญ่) เงาะ ลำไย มะม่วงสุก เนื้อมะพร้าว ลิ้นจี่ ทุเรียน ขนุน มะกอก มะเขือยาว พริก ผักชี หอม พริกไทย ขิง ใบแมงลัก กระเทียม งาดำ หัวหอม ข้าวเหนียว ข่า กระเพรา ตะไคร้ โหระพา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

7 − four =