วิธีการนำสุนัขขึ้นเครื่องบินเพื่อเดินทางภายในประเทศ และต่างประเทศ

การนำหมาน้อยแสนรักของคุณขึ้นเครื่องบิน บินไปพร้อมกับคุณนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่คุณต้องทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ด้วยการสอบถามไปที่สายการบินที่คุณจะใช้บริการในการโดยสาร บางสายการบินต้องซื้อตั๋วเดินทางแยกสำหรับสุนัขของคุณ บางแห่งก็ไม่ต้อง คุณต้องทราบข้อกำหนดเหล่านี้ทั้งหมด

เรามาดูรายละเอียดข้อกำหนดของสายการบินต่างๆคร่าวๆกันนะครับ

สำหรับการเดินทางภายในประเทศไทย
— การบินไทย : น้ำหนักสัตว์รวมกรง ไม่เกิน 10 กิโลกรัมหิ้วขึ้นในห้องโดยสารได้
— บางกอกแอร์เวย์ส : โหลดลงใต้ท้องเครื่องบินเท่านั้น
— นกแอร์ : โหลดลงใต้ท้องเครื่องบิน มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 200 บาท
— วันทูโก : โหลดลงใต้ท้องเครื่องบิน (คิดว่าไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่เคยได้ยินว่ามีหลายตัว โหลดไปแล้ว ไม่ยอมลงมาบนพื้นดิน ไปอยู่บนสวรรค์เลยครับ)
— แอร์เอเชีย : ไม่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบิน หรือ โหลดลงใต้ท้องเครื่องบิน ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ข้อกำหนดต่างๆอาจมีการเปลี่ยนแปลง และมีรายละเอียดมากกว่านี้ เช่นในเที่ยวบินแต่ละเที่ยวจะมีการจำกัดจำนวนสัตว์เลี้ยง เป็นต้น ดังนั้นยังไงก็ตามคุณควรจะต้องตรวจสอบข้อมูลให้ละเอียดก่อน

สำหรับการเดินทางต่างประเทศ

จะยุ่งยากขึ้นมามากละครับ คุณจะต้องติดต่อไปยังสถานฑูตที่จะเดินทางไป

สุนัขจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนพร้อมมีหลักฐานยืนยัน

อายุของสุนัจต้องเกิน 3 เดือน

ต้องนำหมาของท่านไปฝังไมโครชิพ  iso 11784 หรือ 11785 ที่โรงพยาบาลสัตว์ และต้องขอแบบฟอร์มภาษาอังกฤษ

ต้องพาสุนัขไปตรวจเลือด หากไปประเทศในกลุ่มอียู มีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นห้องแลปที่ได้รับการรับรองโดยกลุ่มประเทศอียูเท่านั้น

ส่งเอกสารที่จำเป็นของแต่ละประเทศไปให้ผู้นำเข้าที่ประเทศปลายทาง ส่งทางแฟกซ์หรืออี-เมล์ ผู้นำเข้านำเอกสารไปขอใบ Import permit

ให้ผู้นำเข้าส่งใบ Import permit มาให้เรา ทางแฟกซ์หรืออี-เมล์

เมื่อได้ใบนำเข้าและ ผลเลือดเรียบร้อย ต้องกรอกเอกสารของประเทศที่จะเดินทางไป  โดยต้องระบุรายละเอียดของหมา เจ้าของ วันที่ฉีดวัคซีน ฝังไมโครชิป ตรวจเลือด และรับรองผลการตรวจเลือดโดยสัตวแพทย์ของรัฐ ซึ่งกรณีนี้ ให้ติดต่อที่สนามบินสุวรรณภูมิ ที่เขตปลอดอากร เพื่อขอใบ Export permit และใบรับรองสุขภาพสัตว์ (ถ้าเจ้าของไม่ได้เดินทางไปเอง วรมีตัวแทน shipping ช่วยเดินเรื่องให้ เพราะต้องมีกำหนดเที่ยวบินด้วย)

ทำการติดต่อสายการบิน เมื่อได้รหัสเที่ยวบินแล้ว เราต้องส่งรหัสนี้ไปให้ผู้นำเข้า(ปลายทาง) ไปติดต่อ confirm กับสายการบินก่อนจึงจะส่งออกได้

จัดเตรียมกรงสุนัขสำหรับเดินทางโดยเครื่องบินให้พร้อม กรงตรงมีขนาดความกว้างพอให้สุนัขหมุนตัว มีความสูงเลยหัวสุนัขประมาณ 1 คืบฝ่ามือ  ฝึกให้สุนัขเคยชินกับการเข้ากรง

ขั้นตอนการส่งสุนัขและแมวออกนอกราชอาณาจักร
1. มีหนังสืออนุญาตให้นำเข้าสัตว์จากประเทศปลายทาง ( Import permit) พร้อมเงื่อนไขการนำเข้า
( Requirement) ซึ่งต้องมีรายละเอียด ดังนี้
.- ชนิดของสัตว์ เพศ พันธุ์ อายุของสัตว์ที่อนุญาตให้นำเข้า
.- ชนิดของวัคซีนและระยะเวลาการฉีดวัคซีน
.- การตรวจรับรองเพิ่มเติม เช่น ระดับภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้า ต้องไม่ต่ำกว่า 0.5 IU/ml. ผลการตรวจโรคไข้หวัดนก เป็นต้น (แล้วแต่ประเทศปลายทางกำหนด)
.- สัญลักษณ์ประจำตัวสัตว์ เช่น รอยสัก , ไมโครชิพ
.- ข้อห้ามอื่น ๆ ห้ามตัดหู , ตัดหาง

2. ผู้มีความประสงค์ส่งออกสัตว์
.- จะต้องติดต่อขออนุญาต ณ ด่านกักกันสัตว์ที่ประสงค์จะส่งออกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน เช่น ท่าอากาศยานกรุงเทพ เชียงใหม่ , ภูเก็ต ฯลฯ โดยกรอก คำร้องแบบ ร.1/1
.พร้อมยื่นเอกสารประกอบ
.- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน , หรือสำเนา หนังสือเดินทาง
.- สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีบริษัท , ห้างหุ้นส่วน)
.- หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรผู้มอบและผู้รับมอบ
.- สมุดรับรองกรณีการฉีดวัคซีนพร้อมสำเนา

3. ผู้ส่งออกจะควรนำสัตว์เลี้ยงมาตรวจสุขภาพสัตว์ก่อนการส่งออก ประมาณ 2-3 วัน .เนื่องจากบางครั้งอาจต้องรอคิวนานอาจทำให้ขึ้นเครื่องบินไม่ทัน

4.เมื่อเอกสารประกอบคำร้องถูกต้อง ครบถ้วน และสัตว์มีสุขภาพดี
ด่านกักกันสัตว์จะออก ใบอนุญาตส่งออกสัตว์ไปต่างประเทศ (แบบ ร.9) และหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์
(Health Certificate) เพื่อนำไปแสดงต่อศุลกากร เจ้าหน้าที่สายการบิน และสัตวแพทย์ประเทศปลายทาง
ค่าธรรมเนียมการส่งออก
.- สุนัข ตัวละ 50 บาท
.- แมว ตัวละ 50 บาท
ขั้นตอนการนำสุนัขหรือแมว เข้าในราชอาณาจักร
1. ยื่นคำร้องขออนุญาตนำสัตว์เข้าในราชอาณาจักร (แบบ ร.1/1)
.ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ณ ด่านกักกันสัตว์ที่จะนำเข้า เช่น ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ,
เชียงใหม่ โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน
.- หรือสำเนาหนังสือเดินทาง
.- สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีบริษัท, ห้างหุ้นส่วน)
– หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรผู้มอบและผู้รับมอบ
2. ด่านกักกันสัตว์จะพิจารณาอนุญาต โดยออกหนังสือ Import permits และเงื่อนไขการนำเข้า (requirement)
.ให้แก่ผู้ยื่นคำร้องใช้เวลาดำเนินการ 2 วัน และผู้นำเข้าจะต้องนำไปแสดงต่อสัตวแพทย์ต้นทาง ให้ทำการตรวจและรับรองสุขภาพสัตว์
3. เมื่อสัตว์มาถึงด่านกักกันสัตว์ (ท่าเข้า)ผู้นำเข้าจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ประจำด่านกักกันสัตว์ นำเอกสารใบรับรองสุขภาพสัตว์พร้อมกับสำเนาImport permit มาแสดง เมื่อสัตวแพทย์ได้ตรวจเอกสารถูกต้อง ประกอบกับสัตว์มีสุขภาพดี ด่านกักกันสัตว์จะออกใบแจ้งอนุมัตินำเข้า (ร.6) และ ใบอนุญาตนำเข้า (ร.7) พร้อมทั้งเก็บเงินค่าธรรมเนียมการนำเข้า
4. สัตวแพทย์จะทำบันทึกสั่งกักสัตว์ไว้ดูอาการ ณ สถานที่กักกันสัตว์ ที่กรมปศุสัตว์รับรอง เป็นระยะเวลา
ไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยในระหว่างการกักกันจะมีการตรวจสอบสุขภาพและผู้นำเข้าหรือเจ้าของจะเป็น ผู้ควบคุมดูแลรับผิดชอบและออกค่าใช้จ่ายของทั้งหมด
5.ผู้นำเข้าจะต้องนำใบ ร.6 และ ร.7 ไปแสดงต่อศุลกากรเพื่อเสียภาษีการนำเข้า (ถ้ามี))
.ค่าธรรมเนียมการนำเข้า
– สุนัข ตัวละ 100 บาท
– แมว ตัวละ 100 บาท

ทีนี้เรามาดูเคล็ดลับกันครับ เพื่อให้การเดินทางสมบูรณ์แบบ

1. ควรติดต่อสายการบินล่วงหน้า เพราะแต่ละเที่ยวบินมีการจำกัดจำนวนสัตว์เลี้ยงที่จะไปกับเที่ยวบิน

2. ให้อาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนถึงสนามบิน

3. ให้หมาของคุณวิ่งเล่น ออกกำลังกาย ก่อนนำเข้ากรง เพื่อจะได้ผ่อนคลาย และเหนื่อย(จะได้นอนพัก)

4. ตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วนก่อนเดินทางไปสนามบินทุกครั้ง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

2 + 9 =